Copenhagen Infrastructure Partners ได้ปิดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนในกองทุน CI Energy Transition Fund I ที่ระดับเพดานเงินทุน 3 พันล้านยูโร

กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก, Aug. 31, 2022 (GLOBE NEWSWIRE) — Copenhagen Infrastructure Partners (CIP) ได้ปิดรับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนใหม่ CI Energy Transition Fund I (CI ETF I) กองทุนนี้มีนักลงทุนยื่นขอซื้อหน่วยลงทุนอย่างท่วมท้น และได้ปิดรับคำสั่งซื้อเมื่อครบระดับเพดานเงินทุน 3 พันล้านยูโร ซึ่งทำให้ CI ETF เป็นกองทุนพลังงานไฮโดรเจนสะอาดครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดของโลก

CI ETF I ได้รับคำสั่งซื้อหน่วยลงทุนจากนักลงทุนในเขตกลุ่มประเทศนอร์ดิก (~25% ของคำสั่งซื้อทั้งหมด) ยุโรป (~45%) เอเชียแปซิฟิก (~20%) และอเมริกาเหนือ (~10%) โดยมีสัดส่วนของนักลงทุนเดิมจากกองทุน CIP และนักลงทุนใหม่อยู่ที่ระดับ 50/50 ฐานนักลงทุนของกองทุนนี้ประกอบด้วยนักลงทุนสถาบันประมาณ 65 แห่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกันชีวิต กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ ผู้จัดการสินทรัพย์ และสำนักงานครอบครัว

“เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับกลุ่มนักลงทุนสถาบันทั้งรายเดิมและรายใหม่เข้าสู่ CI ETF I และรู้สึกดีใจที่บรรดานักลงทุนมีความมั่นใจและทะเยอทะยานในโครงการสาธารณูปโภคพลังงานสะอาดเหมือนกับเรา และได้ร่วมลงทุนในระยะถัดไปของการเปลี่ยนผ่านพลังงานของโลกกับ CIP โซลูชันต่างๆ อย่างเช่น การแปรรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่นจะเป็นกุญแจสำคัญต่อการก้าวกระโดดครั้งใหญ่สำหรับหลายประเทศและอุตสาหกรรม เพื่อให้เป็นไปตามพันธสัญญาของข้อตกลงปารีสและบรรลุเป้าหมายความเป็นอิสระด้านพลังงาน Jakob Baruël Poulsen หุ้นส่วนด้านการบริหารจัดการของ CIP กล่าวว่า ในฐานะผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมและหนึ่งในผู้นำตลาดทั่วโลกในด้านการลงทุนระบบสาธารณูปโภคแบบหมุนเวียนสีเขียว CIP มีจุดยืนเฉพาะสำหรับการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมนี้”

CI ETF I จะลงทุนในระบบสาธารณูปโภคแบบหมุนเวียนยุคสมัยใหม่ ที่รวมถึงโครงการระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น และช่วยให้นักลงทุนสถาบันมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับอุตสาหกรรมที่ยากที่จะลดการปล่อยก๊าซดังกล่าว และสนับสนุนการบูรณาการกำเนิดพลังงานหมุนเวียนในระบบพลังงานผสมโดยผ่านการสร้างสมดุลของเครือข่ายการผลิตไฟฟ้า กองทุนนี้จะมุ่งเน้นที่โครงการพื้นที่สีเขียวขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) และมีเป้าหมายเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เกษตรกรรม การบิน การจัดส่ง การผลิตสารเคมี และการผลิตเหล็ก โดยใช้เชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงปุ๋ยที่ไม่ก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

CI ETF I จะเป็นส่วนสำคัญในการจัดตั้งกองทุนพิเศษของ CIP ที่เชื่อมโยงไปสู่แนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานหมุนเวียน กองทุนนี้จะใช้วิธีสร้างมูลค่าและการขจัดความเสี่ยงที่ได้รับการยอมรับในแบบเดียวกันกับกองทุนต่างๆ ที่มีอยู่เดิมของ CIP แต่กองทุน CI ETF จะเน้นที่ระบบการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น กองทุน CI ETF I จะใช้ทักษะทางอุตสาหกรรมของ CIP เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและขจัดความเสี่ยงในโครงการต่าง ๆ ภายใต้พอร์ต เช่น การออกแบบโครงการ การคัดเลือกพาร์ทเนอร์ และการทำสัญญาต่างๆ เมื่อขจัดความเสี่ยงได้แล้ว โครงการต่างๆ ก็จะมีลักษณะเด่นของระบบสาธารณูปโภค ที่รวมถึงการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าระยะยาว

กองทุน CI ETF I เริ่มต้นอย่างแข็งแกร่งโดยมี FID เป็นหนึ่งในผู้ลงทุนและเป็นเจ้าของโครงการแปลงระบบไฟฟ้าให้เป็นพลังงานอื่นในระดับอุตสาหกรรมที่น่าสนใจหลายโครงการโดยสามารถรองรับเทคโนโลยีการผลิตและตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่หลากหลาย โครงการภายใต้พอร์ตของกองทุนนี้ เช่น โครงการในเขตยุโรปตะวันตก (เดนมาร์ก นอรเวย์ สเปน โปรตุเกส) อเมริกาใต้ (ชิลี) และออสเตรเลีย จะสามารถผลิตพลังงานไฮโดรเจนสีเขียว แอมโมเนียมสีเขียว และเชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืนจากระบบการผลิตพลังงานหมุนเวียนและความจุการส่งผานกระแสไฟฟ้าในระดับกิกะวัตต์ (GW)

เมื่อพอร์ตโครงการในปัจจุบันของกองทุน CI ETF I เปิดดำเนินการเต็มอัตราแล้ว คาดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 7.5 ล้านตันต่อปี (หรือเทียบเท่ากับการขจัดรถยนต์ออกจากท้องถนนอย่างถาวรได้ประมาณ 1.6 ล้านคัน) และส่งมอบเชื้อเพลิงสีเขียวได้มากกว่า 4 ล้านตันต่อปี

ในด้านการตลาดของกองทุน CI ETF I นั้น มีบริษัท Plesner and Clifford Chance ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมาย KPMG Acor Tax เป็นที่ปรึกษาด้านภาษี และ Selinus Capital Advisors, Compagnie Financière Jacques Coeur (CFJC) และ Allen Partners เป็นตัวแทนจัดจำหน่าย

เกี่ยวกับ Copenhagen Infrastructure Partners
ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 ปัจจุบัน Copenhagen Infrastructure Partners P/S (CIP) เป็นผู้จัดการกองทุนครบวงจรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้านการลงทุนพลังงานหมุนเวียน และเป็นผู้นำระดับโลกด้านระบบพลังงานลมนอกชายฝั่ง กองทุนที่บริหารจัดการโดย CIP จะมุ่งเน้นที่การลงทุนด้านระบบพลังงานลมนอกชายฝั่งและบนบก ระบบแผงโซลาร์เซลล์ พลังงานจากชีวมวล และพลังงานจากขยะ การส่งผ่านและการกระจายพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน การจัดเก็บพลังงาน พลังงานชีวภาพขั้นสูง และเทคโนโลยีการแปรรูปพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานอื่น

CIP เป็นผู้จัดการกองทุนรวม 10 กองทุน โดยปัจจุบันมีการลงทุนด้านพลังงานประมาณ 19 พันล้านยูโร และระบบสาธารณูปโภคที่เกี่ยวข้องจากนักลงทุนสถาบันระหว่างประเทศมากกว่า 135 แห่ง CIP จะเร่งเพิ่มบทบาทขององค์กรในด้านการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก และมีเป้าหมายการบริหารจัดการด้านการลงทุนพลังงานสีเขียวระดับ 100 พันล้านยูโรภายในปี 2030 CIP มีพนักงานประมาณ 340 คน และมีสำนักงานในกรุงโคเปนเฮเกน ลอนดอน ฮัมบูร์ก ยูเทรกต์ นิวยอร์ก โตเกียว สิงคโปร์ โซล และเมลเบิร์น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเยี่ยมชม www.cip.dk

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:

Simon Augustesen, – รองประธาน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการสื่อสารและการตลาด โทรศัพท์: +45 30526721 อีเมล: siau@cip.dk

Thomas Kønig, Partner – ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์ โทรศัพท์: +45 7070 5151 อีเมล: tkon@cip.dk